สมเด็จเสด็จนิวัตพระนคร พิมพ์เล็ก
















หลวงปู่ เคย พูด เสมอ ว่า “ ผู้ ปฏิบัติ ต้อง หมั่น ตาม ดู จิต รักษา จิต ”
สำหรับ คน ที่ ไม่ เคย ปฏิบัติ แล้ว ไม่รู้ จะ ดู ที่ไหน อะไร จะ ดู อะไร รู้สึก สับสน
แยก ไม่ ถูก เพราะ ไม่ เคย ดู ไม่ เคย สังเกต อะไร เคย อยู่ แต่ ใน ความ คิด ปรุง แต่ง
อยู่ กับ อารมณ์ แต่ แยก อารมณ์ ไม่ ได้ ยิ่ง คน ที่ ยัง ไม่ เคย บวช คน ที่ อยู่ ใน โลก
แบบ วุ่น วาย ยิ่ง ดู จิต ของ ตน ได้ ยาก

หลวงปู่ ได้ เปรียบ ให้ ผู้ เขียน ฟัง โดย ท่าน ได้ กำ มือ และ ยื่น นิ้ว กลาง มา
ข้าง หน้า ผู้ เขียน ว่า เรา ภาวนา ที แรก ก็ เป็น อย่าง นี้ สัก ครู่ ท่าน ก็ ยื่น นิ้ว ชี้ ออก มา   สัก ครู่ ก็ ยื่น นิ้ว นาง พร้อม กับ มือ ไหว เล็ก น้อย และ ท่าน ก็ ยื่น นิ้ว หัว แม่ มือ และ  นิ้ว ก้อย ออกมาตาม ลำดับ จน ครบ ๕ นิ้ว ท่าน ทำ มือ โคลง ไป โคลง มา เปรียบ
การ ภาวนา ของ นัก ปฏิบัติ ที่ จิต แตก ไม่ สามารถ รวมใจ ให้ เป็น หนึ่ง ได้
ผู้ ฝึก จิต ถ้า ทำ จิต ให้ มี อารมณ์ หลาย อย่าง จะ สงบ ไม่ ได้ และ ไม่ เห็น
สภาพ ของ จิต ตาม เป็น จริง ถ้า ทำ จิตใจ ให้ ดิ่ง แน่ว แน่ อยู่ ใน อารมณ์ อัน เดียว
แล้ว จิต ก็ มี กำลัง เปล่ง รัศมี แห่ง ความ สว่าง ออก มา เต็ม ที่ มอง สภาพ ของ
จิต ตาม ความ เป็น จริง ได้ ว่า อะไร เป็น จิต อะไร เป็น กิเลส อะไร ที่ ควร รักษา
อะไร ที่ ควร ละ